เหล็กเบา ชิวิตเขาเสี่ยงภัย-อย่าใจดำ CR:วารสาร TATA STEELINKS

                                               เหล็กเบา ชิวิตเขาเสี่ยงภัย-อย่าใจดำ

        เหล็กเบาเมื่อผลิตจากโรงงาน-โรงงานย่อมรู้ ยี่ปั้ว ซาปั้วที่ซื้อควรรู้ ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องรู้ ผู้ว่าจ้าง ควรรู้ นั่นคือรู้ถึงอันตรายผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งปลูกสร้าง ความร้ายแรงเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์ เมื่อใช้งานสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ อาจนั่งทำงาน รับประทานอาหาร หรือนอนหลับยามค่ำคืน
เหล็กเส้นที่ถูกต้อง
         เหล็กเส้นก่อสร้างที่ถูกต้องได้มาตรฐานหรือที่เรียกกันว่า เหล็กเต็ม มอกนั้น ลักษณะ ภายนอกที่พอจะสังเกตุได้เบื้องต้น คือ ตัวอักษรนูนบนเนื้อเหล็กแจ้งข้อมูลที่กฎหมายกำหนด เรียงกันไป ทั้งเหล็กเส้นกลม และเหล็กข้ออ้อย ที่ต้องมีชื่อผู้ผลิตหรือชื่อยี่ห้อชนิดของเหล็ก หากเป็น เส้นกลม จะเป็น RB (Round bar) เส้นข้ออ้อยจะเป็น DB (Deformed bar) และขนาด จากนั้น เป็นเกรดของเหล็ก เช่น SR24 DB40 DB50 และอักษรบังคับอื่น ๆ เช่น T (สำหรับข้ออ้อยที่ผ่าน กระบวนการความร้อนในการผลิต)
ตัวอย่างข้อมูลบนเนื้อเหล็กสำหรับ เส้นกลม ผิวเรียบเกลี้ยง ไม่มีปีก ลูกคลื่นหน้าตัดกลม ไม่เบี้ยว ไม่มีรอยแตก

ตัวอย่างข้อมูลบนเนื้อเหล็กสำหรับ ข้ออ้อย ต้องมีระยะบั้งเท่ากัน สม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น
   
           ขั้นตอนตรวจสอบต่อไป คือการวัดเส้นผ่านศูนย์กลางและการชั่งน้ำหนักที่มีมาตรฐาน กำหนดชัดเจน ตามตารางตัวอย่าง (สนใจข้อมูลครบถ้วน สามารถเช็คได้ที่เว๊ปไซต์ของ สำนักงาน มาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สมอ) www.tisi.go.th


                                               ตารางขนาดและน้ำหนักสำหรับเหล็กมาตรฐาน มอก.


ขนาด  Designation
เส้นผ่านศูนย์กลาง (มม.)  Designation Diameter (mm.)
มวลระบุ (กก./ม.) Unit Weight (kg/m.)   
 พื้นที่หน้าตัด (ตร.มม.) Cross Section Area (sq.mm.)
RB6
6
0.222
28.3
RB9
0.499 
63.6 
DB10
10 
0.616 
78.5
DB12
12 
0.888 
113.1 
DB16
16 
1.578
201.1







                
ใช้เหล็กเบาเท่ากับเตรียมก่ออาชญากรรม
         เหล็กเส้นที่ขาดตกบกพร่องมีไม่ครบข้อ กำหนดเหล่านี้ก็คือเหล็กเบานั่นเอง ที่ร้ายแรง ที่สุดก็คือขนาดและน้ำหนักไม ่ได้มาตรฐาน ซึ่งเมื่อใช้ก่อสร้างแล้วไม่ได้ความแข็งแรงตามแบบ ก่อสร้างที่กำหนดไว้จะก่อให้เกิดอันตรายอย่างมาก กับโครงสร้างและผลลัพธ์คือความไม่แข็งแรง แตกร้าวและพังลงมา แต่ทำไมจึงมีการใช้งานจน ทำให้มีปริมาณเหล็กเบากระจายอยู่ในตลาดมาก โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัด ทั้งนี้เพราะความ เห็นแก่ตัวของผู้ประกอบการโรงงานที่ผลิตร้านค้า ที่ซื้อมาขายไป และผู้รับเหมาที่ต้องการลดต้นทุน ก่อสร้างโดยไม่สนใจอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
   “ควรตระหนักเสมอว่าการใช้ เหล็กเบา เหล็กไร้มาตรฐาน เหล่านี้ เหมือนกับการเตรียม ก่ออาชญากรรม
          ดังนั้นเจ้าของโครงการที่ต้องการ ก่อสร้างโครงการที่มีคุณภาพ มีหลักประกัน ความปลอดภัยก็ต้องแสวงหาความรู้ และสร้าง หลักป้องกัน นั่นคือเพิ่มมาตรการตรวจสอบ วัสดุก่อสร้าง คัดเลือกบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ คัดเลือกเอเยนต์จำหน่าย เหล็ก และโรงงานผลิตเหล็กที่ได้มาตรฐาน การพึ่งตนเองในเรื่องนี้จำเป็นที่ทุกภาคส่วน ต้องร่วมมือกันทั้ง เจ้าของโครงการ ผู้ว่าจ้าง ผู้รับเหมาก่อสร้าง เอเยนต์ค้าเหล็ก ยี่ปั้ว ซาปั้วต้องไม่ตกเป็นเหยื่อโรงงานที่ผลิต เหล็กเบา ควรตระหนักเสมอว่าการใช้ เหล็กเบา เหล็กไร้มาตรฐานเหล่านี้เหมือน เข้าข่ายการเตรียมก่ออาชญากรรมทีเดียว

                   CR:วารสาร  TATA STEELINKS

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น