เหล็กเบา ชิวิตเขาเสี่ยงภัย-อย่าใจดำ CR:วารสาร TATA STEELINKS

                                               เหล็กเบา ชิวิตเขาเสี่ยงภัย-อย่าใจดำ

        เหล็กเบาเมื่อผลิตจากโรงงาน-โรงงานย่อมรู้ ยี่ปั้ว ซาปั้วที่ซื้อควรรู้ ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องรู้ ผู้ว่าจ้าง ควรรู้ นั่นคือรู้ถึงอันตรายผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งปลูกสร้าง ความร้ายแรงเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์ เมื่อใช้งานสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ อาจนั่งทำงาน รับประทานอาหาร หรือนอนหลับยามค่ำคืน
เหล็กเส้นที่ถูกต้อง
         เหล็กเส้นก่อสร้างที่ถูกต้องได้มาตรฐานหรือที่เรียกกันว่า เหล็กเต็ม มอกนั้น ลักษณะ ภายนอกที่พอจะสังเกตุได้เบื้องต้น คือ ตัวอักษรนูนบนเนื้อเหล็กแจ้งข้อมูลที่กฎหมายกำหนด เรียงกันไป ทั้งเหล็กเส้นกลม และเหล็กข้ออ้อย ที่ต้องมีชื่อผู้ผลิตหรือชื่อยี่ห้อชนิดของเหล็ก หากเป็น เส้นกลม จะเป็น RB (Round bar) เส้นข้ออ้อยจะเป็น DB (Deformed bar) และขนาด จากนั้น เป็นเกรดของเหล็ก เช่น SR24 DB40 DB50 และอักษรบังคับอื่น ๆ เช่น T (สำหรับข้ออ้อยที่ผ่าน กระบวนการความร้อนในการผลิต)
ตัวอย่างข้อมูลบนเนื้อเหล็กสำหรับ เส้นกลม ผิวเรียบเกลี้ยง ไม่มีปีก ลูกคลื่นหน้าตัดกลม ไม่เบี้ยว ไม่มีรอยแตก

ตัวอย่างข้อมูลบนเนื้อเหล็กสำหรับ ข้ออ้อย ต้องมีระยะบั้งเท่ากัน สม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น
   
           ขั้นตอนตรวจสอบต่อไป คือการวัดเส้นผ่านศูนย์กลางและการชั่งน้ำหนักที่มีมาตรฐาน กำหนดชัดเจน ตามตารางตัวอย่าง (สนใจข้อมูลครบถ้วน สามารถเช็คได้ที่เว๊ปไซต์ของ สำนักงาน มาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สมอ) www.tisi.go.th


                                               ตารางขนาดและน้ำหนักสำหรับเหล็กมาตรฐาน มอก.


ขนาด  Designation
เส้นผ่านศูนย์กลาง (มม.)  Designation Diameter (mm.)
มวลระบุ (กก./ม.) Unit Weight (kg/m.)   
 พื้นที่หน้าตัด (ตร.มม.) Cross Section Area (sq.mm.)
RB6
6
0.222
28.3
RB9
0.499 
63.6 
DB10
10 
0.616 
78.5
DB12
12 
0.888 
113.1 
DB16
16 
1.578
201.1







                
ใช้เหล็กเบาเท่ากับเตรียมก่ออาชญากรรม
         เหล็กเส้นที่ขาดตกบกพร่องมีไม่ครบข้อ กำหนดเหล่านี้ก็คือเหล็กเบานั่นเอง ที่ร้ายแรง ที่สุดก็คือขนาดและน้ำหนักไม ่ได้มาตรฐาน ซึ่งเมื่อใช้ก่อสร้างแล้วไม่ได้ความแข็งแรงตามแบบ ก่อสร้างที่กำหนดไว้จะก่อให้เกิดอันตรายอย่างมาก กับโครงสร้างและผลลัพธ์คือความไม่แข็งแรง แตกร้าวและพังลงมา แต่ทำไมจึงมีการใช้งานจน ทำให้มีปริมาณเหล็กเบากระจายอยู่ในตลาดมาก โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัด ทั้งนี้เพราะความ เห็นแก่ตัวของผู้ประกอบการโรงงานที่ผลิตร้านค้า ที่ซื้อมาขายไป และผู้รับเหมาที่ต้องการลดต้นทุน ก่อสร้างโดยไม่สนใจอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
   “ควรตระหนักเสมอว่าการใช้ เหล็กเบา เหล็กไร้มาตรฐาน เหล่านี้ เหมือนกับการเตรียม ก่ออาชญากรรม
          ดังนั้นเจ้าของโครงการที่ต้องการ ก่อสร้างโครงการที่มีคุณภาพ มีหลักประกัน ความปลอดภัยก็ต้องแสวงหาความรู้ และสร้าง หลักป้องกัน นั่นคือเพิ่มมาตรการตรวจสอบ วัสดุก่อสร้าง คัดเลือกบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ คัดเลือกเอเยนต์จำหน่าย เหล็ก และโรงงานผลิตเหล็กที่ได้มาตรฐาน การพึ่งตนเองในเรื่องนี้จำเป็นที่ทุกภาคส่วน ต้องร่วมมือกันทั้ง เจ้าของโครงการ ผู้ว่าจ้าง ผู้รับเหมาก่อสร้าง เอเยนต์ค้าเหล็ก ยี่ปั้ว ซาปั้วต้องไม่ตกเป็นเหยื่อโรงงานที่ผลิต เหล็กเบา ควรตระหนักเสมอว่าการใช้ เหล็กเบา เหล็กไร้มาตรฐานเหล่านี้เหมือน เข้าข่ายการเตรียมก่ออาชญากรรมทีเดียว

                   CR:วารสาร  TATA STEELINKS

คำถามสำคัญ เกี่ยวกับบ้านเหล็ก

คำถามสำคัญ
เกี่ยวกับบ้านเหล็ก
 
    วัสดุก่อสร้างในปัจจุบัน มีมากมายหลายประเภทแต่ถ้าเน้น ความแข็งแรงที่สุด ความสะดวกรวดเร็วในการสร้างที่สุด ต่อเติมได้ง่ายที่สุดโดยไม่ต้องรื้อโครงสร้างเก่าออก สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิ้ลได้โดยไม่จำกัด ต้องยกให้วัสดุสำคัญคือ เหล็ก เหล็กมีทุกคุณสมบัติทุกข้อที่กล่าวมาในอันดับหนึ่ง ซึ่งเราไม่สามารถปฎิเสธได้เลย แม้ปัจจุบันจะมีการผลิตอุปกรณ์ก่อสร้างแบบต่างขึ้นมากมาย แต่ถ้าวัดกันด้วยคุณภาพ ความแข็งแรง ความสามารถในการใช้ร่วมกันกับวัสดุประเภทอื่น รวมทั้งมิติความสูงความกว้างของสิ่งปลูกสร้าง วิศวะกรและช่างรับเหมาตลอดจนผู้ออกแบบ ดีไซน์เนอร์ต้องยกให้ วัสดุก่อสร้าง เหล็กเท่านั้น ทางกิจรุ่งเรืองจึงยกบทความบางส่วนเกี่ยวกับ “บ้านเหล็ก” มาพอสมควร อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไปเยี่ยมชมเวปได้ที่ http://www.kanglekthai.com 
 
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบ้านเหล็ก
 
    1. บ้าน โครงสร้างเหล็กดูแตกต่างจากบ้านทั่วไป ความจริง ทั้งภายนอกและภายใน บ้านโครงสร้างเหล็กไม่ได้แตกต่างจากบ้านโครงสร้างไม้หรือปูนซิเมนต์เลย และถ้ามองใกล้ๆแล้วบ้านโครงสร้างเหล็กจะมีผนังที่เรียบกว่า มีรอยแตกร้าวน้อยกว่า และไม่มีรอยหัวตะปูบนพื้นผิว  

     2. โครงสร้างเหล็กจะรบกวนคลื่นวิทยุหรือโทรทัศน์หรือระบบคลื่นสัญญาณอื่นๆ ความจริง การรับคลื่นวิทยุหรือโทรทัศน์และการทำงานของระบบคลื่นสัญญาณอื่นๆยังคง เหมือนกับบ้านโครงสร้างไม้และปูนซิเมนต์ 

 
    3. บ้านโครงสร้างเหล็กมีประสิทธิภาพต่ำกว่าบ้านโครงสร้างไม้ ความจริง บ้านโครงสร้างเหล็กช่วยป้องกันการแตกร้าวของผนังและข้อต่ออันเนื่องมาจากการ หดตัวหรือการคดงอของไม้ ทำให้มีการสูญเสียพลังงานจากอากาศที่รั่วไหลน้อยลง 
 

 
    4. บ้านเหล็กจะถูกฟ้าผ่าได้โดยง่าย ความจริง บ้านเหล็กไม่ได้ล่อฟ้ามากไปกว่าบ้านโครงสร้างไม้หรือปูนซิเมนต์เลย เพราะมันเหนี่ยวนำไฟฟ้าลงสู่พื้นดิน สรุปว่าบ้านโครงสร้างเหล็กได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่าน้อยกว่าบ้านไม้ 
 

 
     5. บ้านโครงสร้างเหล็กจะเกิดสนิม ความจริง การใช้โครงสร้างเหล็กชุบสังกะสีจะช่วยป้องกันสนิม 

     6. การแขวนรูปภาพหรือสิ่งของต่างๆในบ้านเหล็กทำได้ยาก ความจริง ตามปกติรูปภาพสามารถแขวนกับตะขอได้ ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของสิ่งนั้น สำหรับวัตถุที่หนักกว่าสามารถแขวนกับสกรูที่ขันเข้าไปโดยตรงกับเกลียวยึด (สามารถตรวจหาแนวยึดได้ด้วยแม่เหล็กธรรมดา)     หลายๆคนเข้าใจว่าเหล็กสั่งซื้อได้ยุ่งยาก ต้อต้องซื้อกับโรงงานหรือห้างโฮมมาร์ทเชิญมาที่ กิจรุ่งเรืองค้าเหล็กแล้วทุกปํญหาในการใช้เหล็กของทุกท่านจะกลายเป็นเรื่องสะดวกสบายเยี่ยมชมเราได้ที่ http://www.kanglekthai.com  
โดยคุณชูเกียรติ ผาติเสนะ
 
 

ข้อดีของเหล็กชุบกัลวาไนซ์

ข้อดีของเหล็กชุบกัลวาไนซ์
 
เหล็กชุบกัลวาไนซ์
 
ข้อดีของเหล็กชุบกัลวาไนซ์ (Hot-Dip Galvanized)
 
ปัจจุบันการป้องกันสนิมสามารถทำได้ 3 วิธีใหญ่ๆ  ดังนี้
 
    1. การเคลือบผิว
  • การพ่นโฟมกันสนิม
  • การทาสี/พ่นสีกันสนิม
  • การชุบซิ้ง (Electro Plated Galvanized)
  • การชุบ Hot-Dip Galvanized
  • การชุบโลหะอื่นๆ เช่น ดีบุก
 
    2. การทำเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel)
 
        การทำเหล็กกล้าไร้สนิม สามารถทำได้โดยการเพิ่มส่วนผสมอื่นๆเข้าไป ทำให้เกิดเป็นฟิล์มบางๆ บนผิวเหล็ก เช่น นิเกิล (Ni) โครเมียม (Cr) ทั้งนี้ แผ่นฟิล์มที่เคลือบเหล็กจะช่วยป้องกันเหล็กสัมผัสกับบรรยากาศโดยตรง
 
 
 
 
    3. การใช้กระแสไฟฟ้า
 
        ทำได้โดยการทำให้เหล็กมีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าบริเวณโดยรอบ ทำให้เหล็กนั้นไม่สูญเสียอิเลกตรอน ให้กับบรรยากาศซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสนิม วิธีการนี้สามารถทำได้ในทุกสภาวะแวดล้อม แต่มีค่าใช้จ่ายสูง เหมาะกับโครงการที่เสี่ยงต่อการเกิดสนิมอย่างรุนแรง เช่น ท่อเดินน้ำมันในทะเล เป็นต้น
 
 
สรุป
 
        การป้องกันสนิมที่นิยมใช้กันในงานอุตสาหกรรม คือ การเคลือบผิวเนื่องจากมีราคาถูกกว่า สะดวกกว่า โดยการชุบ Hot-Dip Galvanized เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากราคาไม่แพง อายุการใช้งานนานกว่าทุกชนิดของการเคลือบผิว และเป็นที่ยอมรับในงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้มีแนวโน้มการใช้งานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
 
 

การเลือกซื้อเหล็กให้ได้ราคาถูก(หลอก)จริงๆ


 การเลือกซื้อเหล็กให้ได้ราคาถูก(หลอก)จริงๆ
 
   1. ขนาดต้องวัดได้ตรงตามสเปค ใช้หน่วยมิลลิเมตร +/- <2% ขนาดและความหนาต้องเท่ากันทุกเส้น 
 
   2. มุมของเหล็กฉากหรือแป๊บ ต้องวัดได้ 90 องศา มุมฉากคม ไม่โค้ง หรือมนและไม่มีรอยต่อที่ เหล็ก ส่วนท่อกลมต้องกลมวัดทแยงมุมต้องได้เท่ากันทั้งหมด ไม่เป็นวงรีหรือมีรอยแตกเชื่อมไม่สนิท
 
  
 
 
   3. ความยาวเท่ากันทุกเส้น สีเหมือนกันทั้งหมด ไม่คดงอ หรือบิด ทดสอบโดยวางบนพื้นแล้วลองกลิ้งเหล็กไปมาสังเกตุได้ง่าย
 
   4. น้ำหนักเหล็กเส้นมาตรฐานทั้งข้ออ้อยเส้นกลม 
           ตั้งแต่ 6 มิลถึง 9 มิล น้ำหนัก +/- <3% ต่อเส้น 
           12 มิลถึง 16 มิล น้ำหนัก +/- <3.7% ต่อเส้น 
           16 มิลถึง 32 มิล น้ำหนัก +/- <4.5% ต่อเส้น 
           เส้นหน้าตัดต้องกลม 100% ไม่ใช่กลมรีหรือมีปีกไม่เสมอกัน 
           ข้ออ้อยลายต้องชัดหยักเสมอกันตลอดเส้น ลายไม่ล้มช่วงใดช่วงหนึ่ง
 
เหล็กเส้นกลม SR-24 
เหล็กข้ออ้อย
 
 
   5. น้ำหนักเหล็กรูปพรรณมาตรฐาน ในกรณีน้ำหนัก 
           ต่ำกว่า 10 กิโลกรัมต่อเส้น น้ำหนักต่อเส้น +/- <4.5% 
           ต่ำกว่า 50 กิโลกรัมต่อเส้น น้ำหนักต่อเส้น +/- <6.5% 
           ต่ำกว่า 100 กิโลกรัมต่อเส้น น้ำหนักต่อเส้น +/- <9.5% 
           ต่ำกว่า 300 กิโลกรัมต่อเส้น น้ำหนักต่อเส้น +/- <10.5%
 
   ข้อ 4 และ ข้อ 5 ในกรณีน้ำหนัก ขาดมากกว่าเปอร์เซนต์ที่กำหนด ให้เฉลี่ยรวมก่อนทุกเส้น ถ้ายังขาดมากกว่าเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดถึง 6% ขึ้นไป ให้พิจารณาว่าได้เหล็กไม่มาตรฐานแล้ว (คือเหล็กเบา) ถ้าเฉลี่ยผิดพลาดจากเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดแค่ 5% ให้ตรวจใบรับรองพร้อมเช็คกับโรงงานผู้ผลิตว่า ใบรับรองถูกต้อง หรือไม่ ถ้าถูกต้องอนุโลมให้ได้ตามสเปค  แต่ต้องขอใบคุมล๊อตผลิตแนบไปด้วย
 
   6. สเปคบนเหล็กตัวพิมพ์ ต้องชัดเจน ระบุเครื่องหมายการค้า (ยี่ห้อ) ชัดเจน ถ้าเป็นสติ้กเกอร์ต้องขอใบกำกับภาษีของผู้ผลิตอ้างอิงกับสินค้าได้ 
 
 
 
   7. สินค้ามีใบ มอก. อย่างเดียวต้องตรวจสอบโดยวิธีที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วตามมาตรฐานวิศวกรรมและ ต้องมีใบคุมล็อตด้วย สามารถตรวจได้จริงตรงกับเหล็กที่ส่งมา
 
 
 
   8. ไม่มีสนิมหรือน้ำมันเคลือบสีอื่นใดๆ นอกจากสีธรรมชาติของเหล็ก ถ้าเป็นน้ำมันเคลือบจากโรงงานจะบางๆ สีอ่อน ไม่ดำมากเกินไป
 
 
 
   9. เวลาจับเนื้อเหล็ก จะต้องเป็นเนื้อเดียวไม่แตกเป็นเสี้ยนเหมือนไม้ หรือหยาบเป็นเกร็ดปลา เวลาเชื่อมจุดเชื่อมต้องต่อสนิทไม่แตกแสดงถึงจุดหลอมของเหล็กที่มีคุณภาพ
 
 
 
   10. หลังจากตรวจสอบอย่าง ละเอียดทุกข้อ แล้วควรซื้อจากร้านตัวแทนโดยตรงของบริษัทนั้นๆ ต้องสอบถามว่า ถ้าสินค้ามีปัญหา หรือสเปคไม่ตรงหรือปลอมปนเกรด B ต้องรับคืนในกรณีไม่ได้มาตรฐาน 
 
ข้อควรระวัง
1. ห้ามใช้ความเชื่อใจ ในกรณีไม่ได้ตามสเปค เพราะถ้าสิ่งปลูกสร้างพังลงมา จะเกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของท่าน
2. ระวังในกรณีของเหล็กเส้น จำนวนมาก จำนวนเส้นจะไม่ครบต้องตรวจสอบให้ละเอียด หรือใช้วิธีชั่งน้ำหนักและเฉลี่ยให้ใกล้เคียงที่สุด
3. เหล็กที่ไม่มาตรฐานความ แข็งแรงจะลดลงมาก หรือเหล็กจากจีนจะสังเกตุได้ไม่ยาก เพราะสีความเรียบเนียนเนื้อเหล็กต่างกันมาก เหล็กจีนไม่แนะนำให้ใช้ เพราะมีการปนปลอมสินค้าไม่ได้มาตรฐานมาก

ชื่อเหล็กคำเรียก ภาษาเทคนิกที่นิยมใช้เรียกเหล็ก


 
ชื่อเรียก 'เหล็ก' สินค้าที่นิยมใช้
 
    คำแปล คำที่ช่างและชาวบ้านเรียก มักจะใช้คำแตกต่างกันมักจะสร้างความสับสนและไม่เข้าใจภาษาเทคนิคและชื่อเรียกในบางครั้ง  ทำให้สั่งสินค้าผิดก็มี จึงได้ยกตัวอย่างคร่าวๆทั้งคำสามัญ ภาษาเทคนิค   และคำแปล คงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่รู้และขาดความเข้าใจได้บ้าง มีข้อความคำแปลใดๆ ไม่ถูกต้อง  รบกวนแนะนำ เพื่อเป็นประโยชน์แก้ผู้ไม่รู้และผู้จัดทำ ขอขอบพระคุณอย่างยิ่ง
 
คำศัพท์ชื่อเรียกทั่วไปที่ใช้เรียกเกี่ยวกับเหล็ก
 
 
รูปภาพ
 
ภาษาเทคนิค
 
ภาษาสามัญ(ไทย)
ภาษาช่าง
และทั่วไปที่นิยมเรียก  

 
CARBON STEEL PIPES
 
ท่อแป๊ปดำ
 
ท่อกลม,แป็บดำ,เหล็กหลอด,กลมดำ,ท่อดำ

 
GALVANIZED STEEL PIPES
 
ท่อเหล็กกล้าชุบสังกะสี
 
แป็บปะปา,แป็บน้ำ,แป็บสังกะสี,ปลายเกลียว,ปลายเรียบ,แป็บขาว

 
FLAT BARS STEEL
 
เหล็กแบน
 
เหล็กพืด,แบน,เหล็กแบนตัด,เส้นแบน

 
EQUAL ANGLES
 
เหล็กฉาก
 
ฉาก,เหล็กมุม

 
CHANNELS STEEL
 
เหล็กรางน้ำ
 
รางหล่อ,รางหนา,รางซี

 
C LIGHT LIP CHANNELS
 
เหล็กตัวซี
 
แปหลังคา,แปซี,โครงตัวซี

 
LIGHT GAUGE CHANNELS
 
เหล็กรางพับ
 
รางยู,รางร่อง,เหล็กพับร่อง

 
CARBON STEEL SQUARE TUBE
 
เหล็กกล่องเหลี่ยม
 
แป็บโปร่ง,กล่อง,เหล็กกล่อง,เหล็กหลอดเหลี่ยม

 
CARBON STEEL RECTANGULAR TUBE
 
เหล็กกล่องแบน
 
กล่องแบน,กล่องไม้ขีด,เหล็กกล่อง,เหล็กหลอดเหลี่ยม

 
ROUND BARS STEEL
 
เหล็กเส้นกลม
 
เหล็กกลม,เหล็กกลมตัน,เส้น?=หุน

 
DEFORMED BARS STEEL
 
เหล็กข้ออ้อย
 
เหล็กอ้อย,เหล็กบั้ง,เหล็กข้อ

 
DE FLANGE STEEL
 
เหล็กไวด์แฟรงค์
 
ตัวเฮช,เหล็กเสา,เหล็กปีก,เสาบีม

 
H-BEAM STEEL
 
เหล็กเอชบีม
 
ตัวเฮช,เสาเอช,เหล็กปีกไอ,เสาบีม

 
I-BEAM STEEL
 
เหล็กไอบีม
 
ตัวไอ,เสาบีม,เหล็กปีกไอ,เสาบีม

 
HOT ROLLED STEEL PLATE AND SHEET
 
เหล็กแผ่นดำ
 
หน้าแปลน,แผ่นเรียบ,ชีส

 
CHECKERED PLATES
 
เหล็กแผ่นลาย
 
แผ่นลาย,เหล็กลายดอก,ตีนไก่,ตีนเป็ด

โดย คุณชูเกียรติ  ผาติเสนะ